- Online Course 1: Risk Management and Insurance Operations
- เกี่ยวกับสิ่งทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับประกันภัย
- Online Course 2: Insurance Accounting, Coverage Analysis, Insurance Law,and Insurance Regulation
- เกี่ยวกับประกันแต่ละประเภท เช่น รถยนต์ บ้าน คอนโด
Format: 75 ข้อ 2 ชั่วโมง สอบที่ Prometric เหมือน preliminary CBT exams
When: แต่ละปีจะมี 4 ช่วงให้สอบ
[15 ม.ค. - 15 มี.ค.], [15 ม.ย. - 15 มิ.ย.], [15 ก.ค. - 15 ก.ย.], [15 ต.ค. - 15 ธ.ค.]
Passing: ต้องสอบให้ได้ 70% ขึ้นไปถึงจะผ่าน รู้ผลเลยหลังสอบเสร็จ
Prerequisite: CAS ไม่ได้กำหนดว่าให้สอบอะไรก่อนสอบ 2 ตัวนี้ เพราะฉะนั้นพร้อมเมื่อไหร่ก็สอบได้เลย ตอนผมสอบตัวนี้ ผมสอบตอนที่ผมสอบ preliminary exams เสร็จหมดแล้ว แล้วก็สอบ OC ตอนระหว่างรอผลสอบของ upper level exam
Materials: ตอนสมัครสอบ เว็บไซต์ของ The Institute จะมี Online Module ให้อ่านโดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ตอนสมัครเราสามารถที่จะเลือกซื้อหนังสือก็ได้ แต่ทุกอย่างที่อยู่ในหนังสือนั้นก็อยู่ใน Module ทั้งหมด ถ้าใครที่ชอบการอ่านจากหนังสือมากกว่าอ่านจาก computer ก็แนะนำให้สั่งหนังสือมาอ่านครับ ใน Module นั้นจะมี Quiz ของแต่ละ section ให้ทำด้วย Quiz นี้ไม่ได้มีผลต่อคะแนนสอบใดๆ แต่มีใว้ให้เราเตรียมตัวเราเอง ผมแนะนำว่าให้ทำ quiz พวกนี้ให้มากที่สุดนะครับ แล้วก็แนะนำให้อ่าน materials จริงๆด้วยนะครับ ไม่ใช่ทำแต่ quiz ส่วนใหญ่แล้วนักเรียนที่นี่จะใช้เวลาประมาณ 8-10 สัปดาห์ในการเตรียมตัวก่อนสอบ ในเมื่อทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ แล้วศัพท์ส่วนใหญ่เป็นศัพท์เกี่ยวกับประกันโดยตรง นักเรียนไทยอาจต้องเวลาเยอะกว่านักเรียนที่นี่ ก็เผื่อเวลาไว้หน่อยนะครับ แล้วยิ่งข้อสอบเป็นประเภพท่องจำ ไม่ค่อยมีเลข ยิ่งรู้สึกอ่านยาก
ที่ผมได้เขียนไปในอีกโพสท์แล้ว ตอนผมสอบ OC 1 ครั้งแรกนั้น ผมสอบไม่ผ่าน ผมเลยต้องสอบครั้งที่ 2 ถึงจะผ่าน ตอนผมสอบ OC2 ผมก็ต้องสอบ 2 ครั้งเช่นกัน
ผมไม่เคยชอบ OC เลยแม้แต่นิด ตอนผมสอบครั้งแรก ผมคิดว่าตัวเองอ่านไม่พอ เพราะผมประมาทเกินไป ตอนผมเรียนอยู่ที่ ISU ผมได้เรียนเกี่ยวกับพวกนี้หมดแล้ว ก็เลยคิดว่าน่าจะง่าย แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย เพราะมันเป็นข้อสอบที่ผมเกลียดมาก ผมว่าผมเป็นคนที่ชอบข้อสอบขาวดำแบบโจทเลข แต่กับข้อสอบนี้ ... ทุกอย่างเป็นสีเทา คำถามจะออกมาเป็นราวๆ "... เลือกข้อที่ถูกที่สุด ..." ข้อ A ก็ถูก แต่ข้อ C ถูกกว่า เพราะฉะนั้นก็ต้องเลือกข้อ C เพราะฉะนั้นตอนทำข้อสอบผมแนะนำให้อ่านคำถามและคำตอบทุกข้อให้ชัดเจน อย่าอ่านแบบผ่านๆ
ถ้าใครที่สอบครั้งแรกไม่ผ่าน The Institute นั้นจะบอกให้เรารู้ว่า section ไหนที่เราทำได้ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นก็ดูผลสอบแล้วก็อ่าน section พวกนี้ให้มากขึ้น
ขอบคุณคุณมีเดชนะครับที่เข้ามาถาม ถ้ายังมีคำถามอะไรอีกก็ถามมาได้นะครับ
ถ้าใครที่สอบครั้งแรกไม่ผ่าน The Institute นั้นจะบอกให้เรารู้ว่า section ไหนที่เราทำได้ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นก็ดูผลสอบแล้วก็อ่าน section พวกนี้ให้มากขึ้น
ขอบคุณคุณมีเดชนะครับที่เข้ามาถาม ถ้ายังมีคำถามอะไรอีกก็ถามมาได้นะครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ข้อสอบแนวนี้ท่าจะปวดหัวมาก เป็นแนวที่ผมไม่ถนัดเช่นกันคงต้องเตรียมตัวนานพอสมควร
ReplyDelete1.เวลาทำงานจริงสำหรับการคิด Lost cost ระหว่าง Sas กับ Glm อันไหนนิยมกว่ากันครับ แต่ละอันดียังไง
2.ของเมืองนอกในทีม Actuary นอกจากแบ่งเป็น Pricing กับ Valuation มีการแบ่งทีมย่อยไปกว่านั้นไหม (บริษัทผมมี 2 ทีม Pricing 5 กับ Valuation 3 ที่น้อยเพราะส่วนใหญ่อยุ่ประกันชีวิต) หรือคิดว่าถ้าควรมีทีมเพิ่มหรือแยกจาก Pricing ควรจะเป็นทีมที่ทำอะไรดี
3.ปกติเวลาคิด Lost cost ผมอยากรู้ว่านอกจากรันโปรแกรม กับเอาข้อมูลสถิติย้อนหลังหา Frequency คูณ Severity มีการคิดด้วยวิธีอื่นไหม
สวัสดีครับ
Delete1. อันนี้น่าจะสับสนหน่อยนะครับ SAS เป็น Statistical program ที่ทำได้หลายอย่าง เช่น data manipulation หรือ modeling รวมถึง GLM ด้วย
ที่บริษัทผมนั้นไม่ได้ใช้ SAS ทำ GLM แต่ใช้ในการ pull data แล้วก็เตรียม Data สำหรับ modeling
ส่วนตอนทำ GLM นั้นใช้โปรแกรม Emblem ที่ผลิตโดย Towers Watson ครับ
ผมใช้ SAS บ่อย แต่ยังไม่เคยทำ GLM ใน SAS เลยไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดียังไง
2. ผม assume ว่า valuation นี่คือ reserving ละกันนะครับ
ที่บริษัทผมมี actuary ทำอยู่หลายแผนก ส่วนใหญ่จะจำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ: Pricing/Ratemaking, Modeling, Reserving แล้วก็ Analytics
-Pricing/Ratemaking ก็คือกลุ่มที่ผมเคยทำใน Commercial Insurance ที่ผมได้เขียนในอีก post นึง แล้วก็รวมถึงกลุ่มที่ rate filing ถ้าบริษัทต้องการเพิ่มค่าประกันของ Personal insurance ด้วย
-Modeling ก็คือกลุ่มที่ผมทำอยู่ตอนนี้ (Loss cost modeling) รวมไปถึงกลุ่มที่ทำพวก Capital Modeling ด้วย
-Reserving ก็ทำพวก reserving ทั่วไป
-Analytics จะทำ research พวกเรื่อง trend ใน market ทั่วๆไป
ถ้าพูดถึงบริษัทที่ผมทำอยู่ Liberty มี actuary (ใน USA เท่านั้น ไม่รวมถึงต่างประเทศ) มากกว่า 500 คน (รวมทั้ง credentials และ students)
3.ถ้าพูดถึง personal insurance นั้น Freq x Sev ก็น่าจะเป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดครับ ในหนังสือ Exam 8 ได้พูดถึงว่าถ้าไม่อยากทำ 2 models ก็สามารถทำ loss cost modeling ได้เลย โดยให้ loss cost เป็น response variable ถ้าทำแบบนี้จะเร็วขึ้นเพราะสร้างแค่โมเดลเดียว แต่ก็มีข้อเสียหลายข้อ เพราะฉะนั้นบริษัทส่วนใหญ่ถึงทำ 2 models