Saturday, January 10, 2015

First Fail ... Actually Let's Make It Two: บทเรียนที่หนักที่สุด

   1/10/2015
      ประสบการณ์การสอบของแต่ละคนนั้นคงต่างกัน ผมมีเพื่อนหลายคนที่ไม่ได้สอบผ่านโดยการสอบครั้งแรก หรือตกมาแล้วหลายครั้ง ส่วนผมนั้นผ่าน Preliminary Exams มาได้โดยไม่ได้ตกเลย หลังจาก Prelim ก็ต้องเริ่มสอบ Upper Level Exams ซึ่งผมเริ่มต้นที่ Exam 5: Basic Techniques for Ratemaking and Estimating Claim Liabilities และหลังจากสอบเสร็จก็เริ่มอ่าน CAS Online Course 1: Risk Management and Insurance Operations
     ผมสอบ Exam 5 ตอนเดือนตุลาคม 2014 แต่เนื่องจากว่าเป็นข้อสอบแบบเขียน คือต้องเขียนอธิบายทุกอย่าง ผลสอบจึงต้องรออีก 8 สัปดาห์ ส่วน Course 1 นั้นผมได้สอบตอนเดือนธันวาคม 2014 เป็นข้อสอบ Computer-Based Testing เหมือน Prelim จึงรู้ผลสอบตอนสอบเสร็จเลย
     ผมสอบตก Course 1 โดยคะแนน 60-69% ซึ่งคะแนนผ่านก็คือ 70% หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผลสอบ Exam 5 ก็ออก และผมตกด้วยคะแนน 5 (คะแนน 6 คือผ่านเหมือน Prelim) สำหรับ Exam 5 นั้น บอกตามตรงว่าหลังสอบเสร็จผมคิดไว้แล้วว่าถ้าไม่ผ่านก็น่าจะได้ 5 และก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ส่วน Course 1 นั้นบอกได้เลยว่าผิดคาดและผิดหวังจริงๆ

สิ่งที่ทำพลาด:

  1. Exam 5: 1 อย่างที่อยู่ใน Syllabus (Asset Share Pricing) นั้นได้โดนประกาศว่าจะอยู่ใน Syllabus เป็นครั้งสุดท้าย ผมเลยทะนงตัว เลยเลือกที่จะไม่อ่านบทนั้น เพราะคิดว่าไหนๆมันก็จะไม่มีอีกแล้ว เค้าคงไม่ถามในข้อสอบหรอก ซึ่งกลายเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะข้อที่คะแนนมากเกือบที่สุดกลายเป็นคำถามของบทนี้
  2. Exam 5: อีกอย่างหนึ่งใน Syllabus ผมก็คิดอีกว่าถ้าออก ก็คงไม่ใช่คำถามที่คะแนนเยอะ (Estimating ULAE) เพราะเป็นส่วนเล็กของหนังสือ ผมเลยทิ้งบทนี้แล้วไปใช้เวลากับบทอื่น แต่กลับเป็นคำถามคะแนนเยอะอันดับสองของทั้งข้อสอบ 
  3. Course 1: ผมอยากบอกว่าผมประมาทจริงๆ ผมใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ ในการอ่านหนังสือสำหรับสอบตัวนี้ แต่ผมไม่ได้ serious มาก เพราะคิดว่ามันคงง่าย ตอนสอบก็ไม่ได้คิดว่ายาก แต่มันเป็นคำถามชนิดว่าคำตอบข้อไหน ถูกที่สุด ซึ่งผมไม่ชอบคำถามพวกนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

บทเรียน

  1. อย่าประมาท ผมเป็นคนเข้าใจวิชาเลขง่ายมาโดยตลอด และเป็นคนที่เวลาเรียนจะตั้งใจเรียน แต่ไม่ตั้งใจอ่านหนังสือสอบ แต่ก็สอบได้ A มาโดยตลอด ก็เลยทะนงตัวเอง ไม่เตรียมพร้อมให้ดีสำหรับการสอบ Course 1 
  2. อย่าคิดว่ามันจะไม่ออก ผมเคยทำแบบที่ผมทำกับ Exam 5 มาแล้วตอนสอบ MLC เพราะข้อมูลมันเยอะ เลยเลือกบางบทที่คิดว่าไม่ออกทิ้งไป ตอนนั้นบทที่ทิ้งไปมันไม่ออกจริงๆ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้ามีเวลาก็ไม่ควรทำ อย่างน้อยก็ควรทำความเข้าใจให้พอไปได้ ไม่ใช่ทิ้งไปเลย 
ข้อสองที่ว่าอย่าคิดว่ามันไม่ออก ผมก็เคยได้ยิน Dr. Krzysztof Ostaszewski พูดมาตั้งแต่ผมเรียนปีแรกแล้วว่าแกเคยโดน ทิ้งไปบทเดียว ก็พลาดไปคะแนนเดียวที่อยู่ระหว่างผ่านกับตก แต่ก็คิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นกับเราหรอก เพราะฉะนั้น คนอื่นก็อย่าทำผิดแบบผมนะครับ

Update 7/1/2015 ตอนนี้ผมสอบ Exam 5 เป็นครั้งที่ 2 ผ่านแล้วนะครับ :) แล้วก็สอบ Course 1 ผ่านตอนเดือนมกราคมแล้วด้วยครับ

Preliminary Exams: ประสบการณ์การสอบข้อสอบ Preliminary

ข้อสอบแรก Financial Mathematics

ข้อสอบแรกที่ผมเลือกสอบก็คือข้อสอบ Financial Mathematics เหตุผลก็คือผมได้แนะนำมาว่านี่คือข้อสอบที่ง่ายที่สุด เนื่องจากไม่ต้องมีความรู้ด้าน Calculus 3 พอเรียน prerequisite courses ของ FM เสร็จตอนเทอมแรกของปีแรก ก็ลงเรียนวิชา FM เลยตอนเทอม 2
สำหรับข้อสอบนี้ ผมใช้ Note ที่ได้ในคลาส และ Exam Manual ของ Dr. Krzysztof Ostaszewski (ซึ่งเป็น Director of Actuarial Science at Illinois State University) Manual อันนี้มี Practice exams เยอะ แต่ว่ายาก มันดีที่ทำให้เราเตรียมพร้อม แต่ว่าจะทำให้ท้อหน่อยๆ
ผมสอบข้อสอบนี้ผ่านโดยการสอบครั้งแรก (มิถุนายน 2012) ตอนสอบก็ไม่ได้มั่นใจมาก เพราะคิดว่าตัวเองยังไม่พร้อมขนาดนั้น แต่ก็คิดว่าทำได้ คะแนนได้ 9

ข้อสอบที่สอง Probability 

ข้อสอบที่สองที่ผมเลือกสอบก็คือข้อสอบ Probability หลังจากเรียน FM เสร็จผมก็วางแผนใว้อย่างดีว่าจะเรียน Calculus 3 ตอน summer เพราะไม่สามารถลงตอนเทอม 2 ได้ แล้วก็จะเรียน P ตอนเทอมแรกของปี 2 เลย
จากการที่ผมชอบเลขและเข้าใจเลขได้ง่ายอยู่แล้ว ผมเลยรู้สึกว่าวิชานี้กลับง่ายกว่า FM และอาจเป็นเพราะ FM ต้องใช้จำเป็นส่วนใหญ่ จากประสบการณ์ผมรู้สึกว่าข้อสอบ P จะมีข้อมูลน้อยกว่า FM แต่จะเจอะลึกกว่า ส่วน FM นั้นจะกระจายเป็นหลายๆเนื้อหา และจะมี Concept มากกว่า P
สำหรับข้อสอบนี้ ผมใช้ Note ที่ได้ในคลาส และ Exam Manual ของ ASM ซึ่งเขียนโดย Dr. Krzysztof Ostaszewski manual อันนี้ผมคิดว่าดีมาก เพราะเข้าใจง่าย และมี Practice exams เยอะ
ผมสอบข้อสอบนี้ผ่านโดยการสอบครั้งแรก (มกราคม 2013) ตอนสอบครั้งนี้ต่างจากที่สอบ FM มาก เพราะผมมั่นใจมาก ทำคำถามเสร็จรอบแรกยังเหลือเวลาประมาณชั่วโมงนึง คะแนนได้ 10

ข้อสอบที่สาม Models for Life Contingencies

ข้อสอบต่อไปที่ผมเลือกก็คือ MLC เหตุผลที่เลือกวิชานี้ก็เพราะการแยกทางของ Society of Actuaries และ Casualty Actuarial Society และการประกาศจะออกข้อสอบใหม่ของทาง CAS ซึ่งก็คือ Exam ST ตอนนั้น CAS ประกาศว่านักเรียนที่สอบ MLC ผ่านก่อนปี 2014 จะได้ credit ทั้ง Exam LC และ Exam ST ที่จะมี (ซึ่งเคยมีแต่ Exam 3L) และจากที่ผม ณ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะทำงานทางไหน เลยตั้งใจเป็นอย่างมากว่าต้องสอบข้อสอบ MLC ให้ได้ก่อน 2014 
แม้ว่าผมจะลงเรียน course ที่สอนสำหรับ MLC ผมก็เลือกที่จะอ่าน manual ก่อนอาจารย์จะสอนในห้อง และก็เป็นผลดีทั้งสำหรับการสอบในห้องเรียนและของจริง 
ปีสองเทอมสอง (Spring 2013) นี่ถือว่าเป็นเทอมที่วุ่นวายมากสำหรับผม ผมต้องทุ่มเวลาในการเรียน การอ่านหนังสือสอบ MLC และการหา internship ผมกดดันมากในการหา internship เพราะว่า summer 2013 เป็น summer สุดท้ายในภาคการเรียน และถ้าหา internship ไม่ได้ก็จะกดดันมากในการหางาน 
สำหรับข้อสอบนี้ ผมใช้ Note ที่ได้ในคลาส และ Exam Manual ของ ASM ซึ่งเขียนโดย Dr. Abraham Weishaus manual อันนี้ผมแนะนำมาก เพราะเข้าใจง่าย Practice exam เยอะ และมี exercises หลังบททุกบท
ผมสอบข้อสอบนี้ผ่านโดยการสอบครั้งแรก (พฤษภาคม 2013) ข้อสอบนี้ต่างจากการสอบสองข้อสอบแรกเพราะเป็นข้อสอบเขียน ไม่ใช่ Computer-Based Testing ตอนสอบผมมั่นใจมาก เพราะแม้จะทวนข้อสอบแล้ว ยังเหลือเวลาเยอะใช้ได้ และหลังจากสอบเสร็จไม่ถึง 3 ชั่วโมงผมก็ได้โทรศัพท์จากบริษัทที่ผมสัมภาษณ์งานไว้ว่าได้เลือกผมให้ฝึกงานกับบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นวันที่ดีใช้ได้เลย (แม้ว่ายังไม่รู้ผลการสอบก็ตาม) คะแนนได้ 10

ข้อสอบที่สี่ Models for Financial Economics

ข้อสอบที่สี่ที่ผมเลือกก็คือ MFE เหตุผลที่ผมเลือกสอบวิชานี้ก็คือเวลาการสอบ MFE นั้นดีสำหรับผมกว่าข้อสอบ C ข้อสอบ C นั้นต้องสอบตอนเดือนตุลาคม ส่วน MFE นั้นเดือนพฤศจิกายน ณ ตอนนั้นผมไม่ได้รู้ศึกเร่งรีบอะไรแล้ว เพราะว่าบริษัทที่ผมฝึกงานด้วยได้เชิญผมให้กลับมาทำงานหลังเรียนจบเรียบร้อยแล้ว แม้ว่าผมจะไม่ได้รีบร้อนอะไรแล้ว ผมก็ตั้งใจว่าอยากจะผ่าน Prelim ทุกตัวก่อนที่จะเรียนจบ ผมเลยตั้งเป้าว่าจะสอบตอนเดือนพฤศจิกายน เพราะอย่างนี้ ผมเลยต้องอ่าน manual ก่อนอาจารย์จะสอนในห้องเรียนอีกครั้ง อาจารย์ที่สอนวิชานี้ก็คือ Dr. Krzysztof Ostaszewski แต่ว่าผมเลือกใช้ manual ของ ASM ซึ่งเขียนโดย Dr. Abraham Weishaus เพราะผมชอบ MLC manual ของเขา และก็ไม่ผิดหวังเลย เพราะ manual เข้าใจง่าย และก็มี exercises หลังบททุกบท
ผมสอบข้อสอบนี้ผ่านโดยการสอบครั้งแรก (พฤศจิกายน 2013) ข้อสอบนี้ผมรู้สึกเหมือนตอนสอบ FM มี concept เยอะ และไม่ได้มั่นใจเหมือนตอนสอบ P และ MLC คะแนนได้ 7

ข้อสอบที่ห้า Construction and Evaluation of Actuarial Models

และข้อสอบ Prelim สุดท้ายก็คือข้อสอบ C วิชานี้สอบสุดท้าย และลงเรียนตอนเทอมสุดท้าย ตอนแรกว่าจะสอบตอนเดือนกุมภาพันกุมภาพันธ์ แต่ก็คิดว่าเวลาอ่านไม่น่าจะพอ เลยเลือกสอบตอนเดือนมิถุนายนแทน เหตุผลอีกอย่างก็คือเป็นเทอมสุดท้ายแล้วเลยต้องทำ Senior Portfolio สำหรับตัวจบ และมี General Education class เยอะเพราะผันมาตลอด ที่ผ่านมาไปเรียนวิชา Major ก่อน 
Manual ที่ผมเลือกใช้สำหรับตัวนี้ก็คือ manual ของ ASM ซึ่งเขียนโดย Dr. Abraham Weishaus เหมือน manual ตัวอื่นของแก manual นี้เข้าใจง่าย และก็มี exercises หลังบททุกบท
ผมสอบข้อสอบนี้ผ่านโดยการสอบครั้งแรก (มิถุนายน 2014) ผมได้สอบวิชานี้หลังจากเริ่มทำงานได้ 2 สัปดาห์ วิชานี้ผมคิดว่าไม่ได้ยากมาก สำหรับผม ผมคิดว่าง่ายกว่า MFE แต่เนื้อหาเยอะจริงๆ คะแนนได้ 9

ถ้าใครมีคำถามอะไรเกี่ยวกับข้อสอบไหน ก็สามารถ comment ได้นะครับ
และผมมี ASM Manual ของ Exam C ฉบับ electronic อยู่ ใครอยากได้ บอกได้นะครับ

Sunday, January 4, 2015

Introduction

สวัสดีครับทุกคน

ผมเป็นคนๆหนึ่งที่โชคดีได้รู้จักวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ผมรู้จักวิชาชีพนี้ตอนอยู่ปีที่ 3 ของ High School หรือ ม.5 นั่นเอง ตอนนั้นก็กำลังดูอยู่ว่าจะเรียนอะไร แล้ววันนึงพ่อก็บอกให้ลอง ศึกษาวิชา Actuarial Science ดู แล้วมันก็น่าสนใจดี ผมชอบเลขมาตั้งแต่เด็ก วิชาเดียวที่เข้าใจง่ายเหลือเกิน แต่ไม่ชอบการสอนเลย เลยไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรดี

จากที่ศึกษาดูตอนนั้น Actuary น่าสนใจเพราะว่ามันมีทั้งเลข แล้วก็ Business ผสมอยู่ด้วยกัน และเป็นอะไรที่ท้าทายดี และที่สำคัญที่สุด (และผมรู้ว่าทุกคนไม่ค่อยอยากยอมรับว่าเป็นเหตุผลหลักที่เลือกเรียนทางนี้ 555) ก็คือเป็นอาชีพที่เงินดีมาก!

ตอนที่เลือกโรงเรียนว่าจะเรียนที่ไหน ก็มีอยู่ 2-3 โรงเรียนที่ดูเอาไว้ แต่สุดท้ายก็เลือกเรียนที่ Illinois State University ซึ่งเป็นโรงเรียนอันดับต้นๆของโลกทางด้านวิชานี้ ที่เมืองไทยอาจจะยังไม่มีโรงเรียนที่มีโครงการทางวิชานี้เท่าที่อเมริกา แต่ผมเชื่อว่าเด็กไทยหลายคนมีความสามารถที่จะมาทางนี้ได้เอง

ปีที่ 2 ที่ ISU ผมก็ได้รับเลือกให้ฝึกงานที่ บริษัท Liberty Mutual Insurance ที่เมือง Chicago ซึ่งนั่นก็คือเวลาที่ผมเลือกว่าจะไปทางประกันภัย ไม่ใช่ประกันชีวิต พอฝึกงานจบ บริษัทก็ได้ offer งานหลังเรียนจบตอนนั้นเลย และตอนนี้ผมก็ทำงานอยู่กับ Liberty Mutual Insurance ครับ

Connect กับผมทาง LinkedIn ได้นะครับ: https://www.linkedin.com/pub/kamolphan-weeraklaew/49/189/8b4

ข้อสอบเพื่อการเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

Path Toward Fellowship of Casualty Actuarial Society

Preliminary Exams

  • 1/P - Probability Exam
  • 2/FM - Financial Mathematics Exam
  • 3F/MFE - Models for Financial Economics Exam
  • 4/C - Construction and Evaluation of Actuarial Models Exam
  • S - Statistics
  • VEE Economics
  • VEE Corporate Finance
  • VEE Applied Statistical Methods

Associateship Exams

  • 5 - Basic Techniques for Ratemaking and Estimating Claim Liabilities
  • 6 - Regulation and Financial Reporting
  • Course 1 - Risk Management and Insurance Operations
  • Course 2 - Insurance Accounting, Coverage Analysis, Insurance Law and Insurance Regulation
  • Course on Professionalism

Fellowship Exams

  • 7 - Estimation of Policy Liabilities, Insurance Company Valuation, and Enterprise Risk Management
  • 8 - Advance Ratemaking
  • 9 - Financial Risk and Rate of Return
ถ้าใครมีคำถามอะไร Comment ได้นะครับ

Update 1/4/2017: ตอนนี้ CAS ได้ออกประกาศว่าจะไม่รับ Exam C ของ SOA อีกหนังจากปี 2017 เริ่มต้นตั้งแต่ 2018 เป็นต้นไป CAS จะมี 2 ข้อสอบใหม่ (Modern Actuarial Statistic I & II) MAS I จะมาแทม Exam S (อีกแล้ว) และ MAS II จะมาแทน Exam C/4
ใครที่ยังไม่ได้สอบ แล้วยังไม่มีงาน ก็รีบสอบ C ก่อนก็น่าจะดีนะครับ จะได้ Credit ทั้งสองทาง
http://www.casact.org/press/index.cfm?fa=viewArticle&articleID=3520