Friday, December 30, 2016

ประสบการณ์สอบ CAS Online Courses

     สองอย่างที่ต้องสอบให้ผ่านก่อนที่จะได้เป็น Associate ก็คือ 2 Online Courses
  • Online Course 1: Risk Management and Insurance Operations
    • เกี่ยวกับสิ่งทั่วๆไปที่เกี่ยวข้องกับประกันภัย
  • Online Course 2: Insurance Accounting, Coverage Analysis, Insurance Law,and Insurance Regulation
    • เกี่ยวกับประกันแต่ละประเภท เช่น รถยนต์ บ้าน คอนโด
Format:  75 ข้อ 2 ชั่วโมง สอบที่ Prometric เหมือน preliminary CBT exams

When:    แต่ละปีจะมี 4 ช่วงให้สอบ 
               [15 ม.ค. - 15 มี.ค.], [15 ม.ย. - 15 มิ.ย.], [15 ก.ค. - 15 ก.ย.], [15 ต.ค. - 15 ธ.ค.]

Passing: ต้องสอบให้ได้ 70% ขึ้นไปถึงจะผ่าน รู้ผลเลยหลังสอบเสร็จ

Prerequisite: CAS ไม่ได้กำหนดว่าให้สอบอะไรก่อนสอบ 2 ตัวนี้ เพราะฉะนั้นพร้อมเมื่อไหร่ก็สอบได้เลย ตอนผมสอบตัวนี้ ผมสอบตอนที่ผมสอบ preliminary exams เสร็จหมดแล้ว แล้วก็สอบ OC ตอนระหว่างรอผลสอบของ upper level exam

Materials: ตอนสมัครสอบ เว็บไซต์ของ The Institute จะมี Online Module ให้อ่านโดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ตอนสมัครเราสามารถที่จะเลือกซื้อหนังสือก็ได้ แต่ทุกอย่างที่อยู่ในหนังสือนั้นก็อยู่ใน Module ทั้งหมด ถ้าใครที่ชอบการอ่านจากหนังสือมากกว่าอ่านจาก computer ก็แนะนำให้สั่งหนังสือมาอ่านครับ ใน Module นั้นจะมี Quiz ของแต่ละ section ให้ทำด้วย Quiz นี้ไม่ได้มีผลต่อคะแนนสอบใดๆ แต่มีใว้ให้เราเตรียมตัวเราเอง ผมแนะนำว่าให้ทำ quiz พวกนี้ให้มากที่สุดนะครับ แล้วก็แนะนำให้อ่าน materials จริงๆด้วยนะครับ ไม่ใช่ทำแต่ quiz ส่วนใหญ่แล้วนักเรียนที่นี่จะใช้เวลาประมาณ 8-10 สัปดาห์ในการเตรียมตัวก่อนสอบ ในเมื่อทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ แล้วศัพท์ส่วนใหญ่เป็นศัพท์เกี่ยวกับประกันโดยตรง นักเรียนไทยอาจต้องเวลาเยอะกว่านักเรียนที่นี่ ก็เผื่อเวลาไว้หน่อยนะครับ แล้วยิ่งข้อสอบเป็นประเภพท่องจำ ไม่ค่อยมีเลข ยิ่งรู้สึกอ่านยาก

     ที่ผมได้เขียนไปในอีกโพสท์แล้ว ตอนผมสอบ OC 1 ครั้งแรกนั้น ผมสอบไม่ผ่าน ผมเลยต้องสอบครั้งที่ 2 ถึงจะผ่าน ตอนผมสอบ OC2 ผมก็ต้องสอบ 2 ครั้งเช่นกัน
     ผมไม่เคยชอบ OC เลยแม้แต่นิด ตอนผมสอบครั้งแรก ผมคิดว่าตัวเองอ่านไม่พอ เพราะผมประมาทเกินไป ตอนผมเรียนอยู่ที่ ISU ผมได้เรียนเกี่ยวกับพวกนี้หมดแล้ว ก็เลยคิดว่าน่าจะง่าย แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย เพราะมันเป็นข้อสอบที่ผมเกลียดมาก ผมว่าผมเป็นคนที่ชอบข้อสอบขาวดำแบบโจทเลข แต่กับข้อสอบนี้ ... ทุกอย่างเป็นสีเทา คำถามจะออกมาเป็นราวๆ "... เลือกข้อที่ถูกที่สุด ..." ข้อ A ก็ถูก แต่ข้อ C ถูกกว่า เพราะฉะนั้นก็ต้องเลือกข้อ C เพราะฉะนั้นตอนทำข้อสอบผมแนะนำให้อ่านคำถามและคำตอบทุกข้อให้ชัดเจน อย่าอ่านแบบผ่านๆ
     ถ้าใครที่สอบครั้งแรกไม่ผ่าน The Institute นั้นจะบอกให้เรารู้ว่า section ไหนที่เราทำได้ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นก็ดูผลสอบแล้วก็อ่าน section พวกนี้ให้มากขึ้น

ขอบคุณคุณมีเดชนะครับที่เข้ามาถาม ถ้ายังมีคำถามอะไรอีกก็ถามมาได้นะครับ 

Monday, December 26, 2016

Pricing Commercial VS Personal Insurance: การตั้งราคาประกันของ พาณิชย์ประกันภัย และ ประกันส่วนบุคคล

     สวัสดีครับ ไม่ได้เขียนนานเลย ไม่รู้จะเขียนอะไรด้วย แล้วก่อนหน้านี้ก็ยุ่งๆก่อนสอบและงานด้วย ถ้าใครอยากรู้เรื่องอะไร หรือมีคำถามอะไรก็เขียนมาได้นะครับ
     ณ ตอนนี้ผมได้มีโอกาสทำงานทั้ง 2 ด้านของ P&C insurance เลยว่าจะมาเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย ประสบการณ์ของผมที่มีนั้นจะอยู่ในฝั่ง Pricing มากกว่า Reserving แต่ก็ยังผ่าน Reserving ของ Commercial มาบ้าง ทุกอย่างที่ผมเขียนจะมาจากประสบการณ์ในอเมริกา ซึ่งอาจจะต่างจากบางคนที่ทำงานในเมืองไทย เพราะกฏหมายที่ต่างกัน
     Pricing นี้อยู่ใน Exam 5 และ 8 ของ CAS

Background of Commercial VS Personal Insurance

     Commercial Insurance (พาณิชย์ประกันภัย) จะเกี่ยวกับประกันภัยที่มีบริษัททั่วไปเป็นคนซื้อ บริษัทจะซื้อประกันเพื่อปกป้อง ตัวเอง พนักงาน และ บุคคลที่สาม ส่วนประกอบของ Commercial Insurance มี Workers Compensation, Commercial Auto, Commercial Property และ General Liability
     Workers Compensation จะปกป้องพนักงานของบริษัทถ้าเกิดอะไรขึ้นระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ที่เกิดจากการทำงาน
     Commercial Auto จะปกป้องรถ พนักงาน และ บุคคลที่สาม ที่เกิดจาก อุบัติเหตุของรถยนต์ของบริษัท ส่วนใหญ่บริษัทที่มีรถของบริษัทรับส่งของหรือบุคคลจะมีตัวนี้
     Commercial Property จะปกป้องตึก และ สิ่งของในตัวตืกของบริษัท
     General Liability จะปกป้องบริษัท และ บุคคลที่สาม จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะทำงานหรือเกิดเหตุจากสินค้า

     Personal Insurance (ประกันส่วนบุคคล) จะเกี่ยวกับประกันภัยที่ซื้อโดยบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ประกันรถยนต์ บ้าน คอนโด ประกันผู้เช่าบ้าน เรือ หรือ พาหนะอย่างอื่น

Pricing of Commercial VS Personal Insurance

     การตั้งราคาของสองอย่างนั้นต่างกันมากใช้ได้ Commercial ส่วนใหญ่จะแยกเป็น 2 ประเภทคือ low/no touch และ high touch ส่วน Personal นั้นจะใช้การโมเดลเพราะไม่มีใครที่มีประสบการณ์การสูญเสียที่มั่นคงทุกปี

Commercial Insurance Pricing
     Low/No touch นั้นส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทเล็กๆที่ไม่มีรายได้สูง มีพนักงานน้อย หรือ ประสบการณ์การสูญเสียที่ไม่มากนัก (เช่น ร้านค้า หรือ ร้านอาหาร ที่มีแค่สาขาเดียว) เวลาบริษัทประกันตั้งราคาประกันบริษัทพวกนี้ จะใช้ประสบการณ์การสูญเสียของตลาด ซึ่งในอเมริกาจะมีองค์กรที่เก็บข้อมูลจากบริษัทประกันภัยทั้งหลายเพื่อให้การตั้งราคานั้นได้แม่นยำและเป็นธรรม หน้าที่ของ actuary เวลาตั้งราคา low touch นั้นส่วนใหญ่จะต้องสร้างโมเดลเพื่อให้การตั้งราคานั้นเร็วและแม่นยำ
     High touch นั้นจะเป็นบริษัทที่ใหญ่ รายได้สูง มีพนักงานเยอะ และ มีประสบการณ์การสูญเสียที่มั่นคงปีต่อปี (เช่น บริษัทที่มีร้านทั่วประเทศ แบบ Tesco Lotus หรือ 7-11) actuary จะมีบทบาทและหน้าที่ในการตั้งราคาประกันบริษัทพวกนี้สูงกว่า low touch ในบริษัทที่ผมทำอยู่นั้น การตั้งราคาของบริษัทใหญ่เช่นนี้ต้องผ่านการยอมรับของ credential actuary (FCAS หรือ ACAS)
     นอกจาก actuary แล้วการตั้งราคา commercial insurance ยังต้องใช้ประสบการณ์ของ underwriter ที่ต้องดูว่าลูกค้าประกันเป็นยังไง และบริษัทคู่แข่งตั้งราคายังไง actuary เราต้องบอกให้ได้ว่าต้องคิดราคาอย่างน้อยเท่าไหร่ และลูกค้ามีโอกาสสูญเสียเท่าไหร่ แต่ underwriter จะเป็นคนติดต่อกับ Agency/Broker เพื่อตั้งราคาสุดท้าย และเซ็นสัญญาทั้งหมด ถ้าราคาที่คู่แข่งนั้นต่ำกว่าเรามาก แล้ว actuary คาดว่าลูกค้านี้จะมีโอกาสสูญเสียสูง underwriter ก็จะไม่รับ
     งานด้าน commercial นั้นจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลูกค้าแต่ละรายก็ไม่เหมือนกัน ประสบการณ์การสูญเสียทุกปีก็เปลี่ยนไป หรือลูกค้าอาจจะเปลี่ยนมาตรการทำให้สภาพแวดล้อมของการทำงานปลอดภัยขึ้น

Personal Insurance Pricing
     ประกันรถยนต์ในอเมริกานั้นทุกคนที่ขับรถต้องมี กฏหมายที่นี่บังคับให้ทุกคนต้องมีอย่างน้อยประกันที่ปกป้องบุคคลที่สาม เพราะฉะนั้นข้อมูลและสถิติที่นี่มีเยอะมาก บริษัทประกันใหญ่ๆที่มีลูกประกันเยอะก็สามารถใช้สถิติของตัวเองในการตั้งราคาได้ ส่วนบริษัทที่ไม่ใหญ่มากก็สามารถใช้ข้อมูลขององกรณ์ที่เก็บสถิติจากบริษัททั่วไปในการตั้งราคาได้แทน ที่นี่ส่วนใหญ่บริษัทจะใช้ Predictive Modeling ในการตั้งราคา หนึ่งในวิธีที่แพร่หลายที่สุดคือ Generalized Linear Model คนที่เรียนสถิติมาจะต้องเรียน GLM มาแล้วแน่นอน
     แม้ว่า GLM นั้นจะมีการใช้มานานแล้ว เพราะ Technology ของรถยนต์ที่เปลี่ยนตลอดทำให้งานของ actuary ที่สร้างโมเดลนั้นตื่นเต้นและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โมเดลที่ใช้ตั้งราคาปีที่แล้วนั้นอาจจะไม่ตรงในการตั้งราคาประกันปีหน้าแล้วก็ได้ หรืออะไรที่คิดว่ามีความสำคัญในโมเดลปีที่แล้ว อาจจะไม่มีความสำคัญในโมเดลปีนี้แล้วก็ได้ โมเดลสำหรับประกันรถยนต์ที่ผมทำงานอยู่นั้นมีมากกว่า 300 parameters ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลที่ complex มาก

Friday, June 24, 2016

Studying for Upper Level Exams: การเตรียมตัวสอบ Upper Level Exams

     สวัสดีครับ ไม่ได้เขียนนานเลย ตอนนี้ผมกำลังจะเริ่มอ่าน Exam 8 เลยคิดว่าจะมาเขียนเรื่องการเตรียมตัวสอบ Upper Level Exams หน่อย
     ตอนนี้ผมสอบผ่านมาแล้ว 3 ULE (5, 6, and 9) เหลืออีกแค่ 2 ตัวผมก็จะเสร็จแล้ว ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็น่าจะจบได้ภายในกลางปีหน้า

    Manuals ที่ผมใช้:
  • Exam 5: The Infinite Actuary และ Source Materials (บ้าง)
  • Exam 6: The Infinite Actuary และ Source Materials
  • Exam 9: The Infinite Actuary, Goldfarb, และ Source Materials
  • Exam 8: The Infinite Actuary, Fox Seminar และ Source Materials (updated 1/4/2017)
  • Exam 7: The Infinite Actuary และ Casual Fellow (updated 6/30/2017)
1. เลือก Manual ที่ต้องใช้
     สิ่งแรกที่ผมทำคือเลือก study manual ผมโชคดีที่ที่บริษัทที่ผมทำงานอยู่มีคนที่สอบข้อสอบเดียวกัน และคนที่ผ่านแล้วเยอะให้สอบถามได้ ว่าอันไหนดี อันไหนที่ใช้แล้วอ่านง่าย อันไหนสอนลึก ถ้าคุณไม่มีใครให้ถาม ผมแนะนำให้ลองอ่านดูที่ ActuarialOutpost ในนี้จะมีคนมาเขียนเยอะ ไม่ว่าจะเรื่องเลือก study manual เรื่องข้อสอบ หรืออะไรที่ไม่เข้าใจก็สามารถ post ให้คนอื่นมาตอบได้

2. อ่าน Source Materials
     ไม่ว่า study manual ที่คุณเลือกจะดีแค่ไหน ยังไงผมก็จะแนะนำให้อ่าน source materials ตอนผมสอบ Exam 5 รอบแรก ผมเลือกที่จะไม่อ่าน source materials เพราะทีผ่านมา Prelim ผมก็ไม่ได้อ่าน ใช้แต่ Manual ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาก
     ตอนสอบ Exam 6 กับ 9 ผมก็เลยอ่านทั้ง study manul และ source materials บางที Study Manual ก็ไม่ได้มีทุกอย่าง แล้วยิ่งข้อสอบยากขึ้น อะไรใน source materials ก็ถือว่าเป็น fair game
     ส่วนใหญ่พวกนี้จะดาวน์โหลดได้ที่หน้าข้อสอบของ CAS ส่วนอันไหนที่ไม่มีจะมีรวมอยู่ใน study kit ที่สามารถซื้อได้ที่ CAS store syllabus ของแต่ละข้อสอบจะบอกว่าสามารถหาอ่านได้ที่ไหน

3. ดู Examiner's Reports
     อย่างน้อยทุกข้อสอบตั้งแต่ 2011 CAS ได้โพส Examiner's Reports ทุกครั้งที่ผมอ่านเนื้อหาเสร็จหมดแล้วผมก็จะเริ่มดูข้อสอบเก่าๆ นอกจากดูคำตอบที่มากับ study manual ของ TIA ผมก็จะดูคำตอบที่อยู่ใน Examiner's Reports ด้วย เพราะมันจะทำให้เรารู้ว่าคนตรวจข้อสอบต้องการคำตอบแบบไหน อะไรที่เราควรโชว์ให้รู้ว่าเราเข้าใจเนื้อหา

4. พยายามทำความเข้าใจ
     อันนี้ผมคิดว่าผมเขียนตั้งแต่เขียนเริ่ง prelim อีกโพสแล้ว ถ้าคุณคิดว่า prelim ต้องจำเยอะแล้ว ULE ยิ่งกว่าอีก เนื้อหาจะเยอะมาก เยอะจนทุกครั้งที่อ่านจะงงว่ามันจะสอบยังไงหมดภายใน 25 ข้อเนี่ย เพราะฉะนั้น แทนที่จะจำ อะไรที่ทำความเข้าใจได้ ก็ทำ อะไรที่คิดยังไงก็ได้ให้มันดู make sense ที่สุดได้ก็ทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ Exam 6 ที่เกี่ยวกับ กฎหมายและบัญชี อะไรที่ต้องจำเป็นต้องจำจริงๆ ผมอยากแนะนำให้ลอง notecard ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยใช้ notecard เลย แต่ก็เริ่มใช้ตั้งแต่ Exam 6 แล้วผมแนะนำว่าให้ทำ notecard ขึ้นมาเอง เขียนเอง จะได้ผ่านมือ แล้วจำได้ดีขึ้น แทนที่จะใช้ของ TIA

5. Bloom's Taxonomy
     Future Fellow's Article ข้อสอบตอนนี้ยากขึ้นเพราะสิ่งๆนี้ เมื่อก่อน (จากที่ได้ยินมา) ข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นจำ แต่ตอนนี้จะเน้นเข้าใจ Bloom's Taxonomy จะเน้นดูว่านักเรียนเข้าใจข้อมูลหรือไม่ เช่น เมื่อก่อนข้อสอบอาจถามแค่ว่า reserving วิธีนี้ดีอย่างไร วิธีโน้นดีอย่างไร แต่เดี๋ยวนี้จะกลายเป็นถามว่า ถ้าทำ reserve ของ auto liability สมควรใช้วิธีไหน วิธีไหนไม่สมควรใช้ เพราะอะไร อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผมถึงอยากแนะนำให้ทำความเข้าใจมากกว่าจะ แล้วยิ่งมีประสบการณ์ในการทำงานแล้วด้วย ก็สามารถนำมาเป็นข้อตัวอย่างในการตอบได้ด้วย

6. Practice! Practice! Practice!
     ผมไม่ใช่คนที่สามารถขังตัวเองในห้องเงียบๆ 4 ชั่วโมงเพื่อทำ mock exam ได้ ไม่เคยได้ทำเลยตั้งแต่ prelim แล้ว เวลาผมอ่าน ก็จะอ่านคำถาม ดูคำตอบ พยายามทำความเข้าใจก้บคำตอบ ถ้าเป็นเลขก็จะพยายามทำ แล้วดูคำตอบเลย แทนที่จะมานั่งทำทุกข้อแล้วกลับมาดูว่าตัวเองทำผิดไหม วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่นี่คือวิธีของผม เพราะฉะนั้นทุกคนสมควรหาวิธีที่ดีที่สุดของตัวเอง แล้วมันจะทำให้อ่านคล่องและเข้าใจเร็วขึ้นครับ

7. Tips & Tricks on Writing the Exams

  1. สิ่งแรกที่ผมเรียนรู้คือ ทุก 0.25 คะแนน สมควรจะเขียน 1 sentence/bullet point ถ้าข้อไหนมี 0.75 คะแนน ส่วนใหญ่ข้อนั้นจะถามหา 3 อย่าง 
  2. ไม่จำเป็นต้องเขียนเต็มประโยค สามารถตอบเป็น bullet point ได้ จะเสียเวลาน้อยลง อีกอย่างคือไม่ต้องห่วงเริ่ง spelling หรือ grammar
  3. ใช้ reading time ให้เป็นประโยช ULE จะมี reading time ให้ 15 นาที เวลานี้สมควรใช้ในการดูข้อสอบ สร้าง strategy ในการทำข้อสอบ
  4. แต่ละคนจะมี strategy ไม่เหมือนกัน ทุกคนสมควรหา strategy ของตัวเอง 
    1. ทำตามข้อ 1-25 ผมทำวิธีนี้เพราะว่าแต่ละข้อจะเรียงตามลำดับของ syllabus
    2. ทำข้อที่มีคะแนนเยอะก่อน
    3. ทำอะไรที่ review ล่าสุดก่อนสอบ
  5. อย่าทิ้งทุกอย่าง สมมุติว่าข้อหนึ่งมี 2 ส่วน แล้วส่วนที่ 2 ต้องใช้คำตอบของส่วนที่ 1 ในการทำ ถ้าข้อแรกทำไม่ได้ ให้เขียน assumption (I assumed a = 5) แล้วใช้ตัวเลขนั้นในการทำส่วนที่ 2 เราอาจจะถูกหักคะแนนของส่วนที 1 แต่ถ้าเราสามารถทำส่วนที่ 2 ได้ เราก็อาจจะได้เต็มของส่วนที่ 2
วันนี้มีแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ แล้วเดี๋ยวตอนอ่าน Exam 8 ถ้าผมนึกอะไรได้ จะมาเขียนบอกอีกนะครับ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะครับ แล้วถ้าใครมีคำถามอะไรก็เขียนใน comment ได้นะครับ ผมจะพยายามตอบให้เร็วที่สุด ถ้าช่วงก่อนสอบผมตอบช้าหน่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ

Monday, January 18, 2016

CAS vs SOA: ความแตกต่างระหว่าง CAS และ SOA

     สวัสดีครับทุกคน ไม่ได้เขียนอะไรนานเลย มีคนถามมาว่า CAS และ SOA ต่างกันยังไง วันนี้ผมเลยจะมาเขียนอธิบายเรื่องนี้ละกันนะครับ
     อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่าทั้งสององค์กรนี้เป็นองค์กรที่ก่อตั้งอยุ๋ในสหรัฐอเมริกา ถ้าเราสังเกตดู ประเทศส่วนใหญ่นั้นจะมีแค่องค์กรเดียวดูแลการศึกษาของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยทั้งทาง Life และ P&C (CIA ของ คานาดา, IFoA ของ อังกฤษ, Actuaries Institute ของ ออสเตรเลีย) แต่ของอเมริกานั้นจะมี 2 องค์กร 
     Casualty Actuarial Society (CAS) จะโฟกัสการศึกษาของประกันภัย และ SOA จะโฟกัสการศึกษาของประกันชีวิต 

Qualifications: 

     ทั้ง 2 มี Preliminary Exams ที่คล้ายๆกัน ซึ่งก่อนปี 2013 ทั้ง 2 องค์กรได้ช่วยกันดูแลการสอบของ Preliminary Exams (P, FM, MFE และ C) แต่ 1 Preliminary exam ที่ต่างกันก่อนหน้านี้คือ MLC vs 3L ซึ่ง MLC จะโฟกัสเรื่องของประกันชีวิต ซึ่งถ้าใครได้สอบมาแล้วจะรู้ แต่ 3L ของ CAS นั้นตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็น S เรียบร้อยแล้ว และโฟกัสไปทางการใช้ Statistics 
     หลังจาก Preliminary Exams แล้ว นักเรียนทางด้าน SOA ก็ถือว่าเกือบจะได้ Associateship แล้ว เหลือแค่การทำ Online Course for Fundamental Actuarial Practice และ Associateship Professional Course ซึ่งผมต้องขออภัยด้วยถ้าไม่สามารถอธิบายเกี่ยวกับ 2 อย่างนี้ได้ แต่จากที่สังเกตจากเพื่อนที่ไปทาง SOA ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่ถึง 1 ปีหลังจากผ่าน Preliminary Exams หมดแล้ว แต่ส่วนทางด้าน CAS นั้น นักเรียนยังต้องผ่าน Exam 5 และ 6 ก่อน รวมทั้งยังต้องผ่านขอสอบ Course 1 และ 2 และต้องไปสมนา Course on Professionalism ก่อนถึงจะ fulfill ทุกอย่างเพื่อที่จะได้ Associateship Exam 5 และ 6 นี้ก็ไม่ได้ง่ายกว่า Preliminary Exams ที่ผ่านมาเลย และยังเป็นข้อสอบเขียนอีก
     หลังจากได้ Associateship แล้ว หนทางการเป็น Fellowship ของทั้ง 2 องค์กรก็ต่างกัน สำหรับ SOA นักเรียนที่ทำงานต่างสาขาจะสอบไม่เหมือนกัน (Health vs Life vs Pension vs Finance) ส่วน CAS นั้นไม่มีให้เลือก ทุกคนต้องสอบ Exam 7, 8, และ 9 ถึงจะได้เป็น FCAS จากที่เห็นมา นักเรียนจะใช้เวลาเป็น FSA น้อยกว่า FCAS ซึ่งผมไม่รู้เวลาของ FSA แน่นอน แต่สำหรับ FCAS นั้นจะ average ราวๆ 8-10 ปีจากข้อสอบแรกถึงการเป็น Fellowship* 

งาน

     อย่างที่ผมได้เกิ่นก่อนหน้านี้ CAS นั้นโฟกัสเรื่องของประกันภัย และ SOA จะโฟกัสเรื่องของประกันชีวิต สำหรับนักเรียนที่ทำงานในบริษัทประกันภัย (Property & Casualty Insurance) ไม่ว่าจะเป็นประกันระดับ Personal Insurance (เช่นประกันรถยนต์ส่วนตัว ประกันบ้าน) ระดับ Commercial Insurance (เช่นประกัน General Liability, Commercial Autos, Workers Compensation) หรือระดับ Reinsurance จะต้องศึกษาข้อสอบของ CAS และสอบเพื่อเป็น FCAS 
     ส่วนนักเรียนที่ทำงานด้าน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ คิดเงินบำนาญ หรือ Annuities จะต้องสอบข้อสอบของ SOA เพื่อเป็น FSA

General Insurance Track by SOA

     ผมไม่แน่ใจว่าทุกคนได้ทราบหรือไม่ในการแยกทางของ 2 องค์กร ในท้ายปี 2012 SOA ได้ส่งจดหมายไปที่ CAS ประกาศยกเลิกการร่วม Preliminary Exams ถ้าใครได้สอบ Preliminary Exams ก่อน 2012 จะเห็นใบ Print-out หลังสอบเสร็จ มี 3 ตราประทับอยู่ (SOA, CAS, และ CIA) และหลัง 2012 จะเหลือแค่ 2 ตรา (SOA และ CIA) แม้ว่า SOA จะไม่ยอมร่วมมือกับ CAS แล้ว CAS ก็เห็นว่านักเรียนที่ยังเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นยังไม่สำควรที่จะต้องเลือกว่าตัวเองอยากเรียนทางไหน (Life vs P&C) จึงยอม waive ข้อสอบ P, FM, MFE และ C ของ SOA**
     เหตุผลที่ SOA ต้องการแยกทางกับ CAS เพราะว่า SOA นั้นต้องการที่จะขยายตัวเองโดยการเข้ามาในประกันภัย (P&C) ซึ่งหลังจากแยกทางกันไม่นาน SOA ก็ได้ประกาศออกข้อสอบ General Insurance Track สำหรับในอเมริกานั้น ยังไม่มีบริษัทประกันภัยบริษัทไหน (ที่ผมได้ยินมา) ยอมรับ GI Track ของ SOA ทุกบริษัทยังต้องการให้นักเรียนสอบเพื่อเป็น FCAS อยู่
     ยังไงก็แล้วแต่ในตอนนี้ CAS ก็ยังเป็นที่ยอมรับอันดับต้นๆขององค์กรที่มีประสิทธิภาพในการสร้างนักคณิตศาสตร์ประกันภัยทั่วโลก แม้แต่ในประเทศสิงคโปร์ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องมี FCAS เท่านั้นถึงจะรับรอง Loss Reserves สำหรับบริษัทประกันภัย (P&C) ได้***

ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะครับ ถ้ายังมีอะไรสงสัยอยู่ก็ถามมาได้เลยนะครับ

Sources:

Saturday, October 31, 2015

Some Relevant Links

CAS Website: www.casact.org


SOA Website: www.soa.org


Be An Actuary: www.beanactuary.org


ตอบคำถามที่มีคนถามมา

สวัสดีครับทุกคน ขอโทษนะครับที่หายไปนานเลย พอดีงานยุ่งหน่อยๆ และก็เพิ่งสอบเสร็จ Exam 6 ของ CAS เลยเพิ่งได้มีโอกาศได้มาเขียนอะไรเพิ่มเติม พอดีมีคนถามคำถามมา เลยจะมาตอบให้ฟังนะครับ เผื่อคนอื่่นมีคำถามเดียวกันจะได้ช่วยตอบเลย

"อยากถามว่า การเรียนกับ เจ้าของmanual ส่งผลต่อการสอบไหมคะ เนื่อหาวิชาเรียน เป็นข้อสอบเลยรึเปล่าคะ"
ผมว่าก็ช่วยหน่อยๆนะครับ เนื้อหาวิชาเรียนไม่ได้เป็นข้อสอบเลยนะครับ แต่อาจารย์จะมีคำถามมากกว่าใน Manual และผมว่าช่วยที่เราได้ฟังแกอธิบายเอง ซึ่งผมว่าจะช่วยโดยเฉพาะกับคนที่เรียนรู้เรื่องจาก lecture มากกว่าการอ่านเอง เพราะฉะนั้นผมว่าอยู่ที่คนครับ ถ้าคุณสามารถอ่านเองได้ก็อาจจะไม่ได้ช่วยมากกว่าการอ่านเองสักเท่าไหร่ครับ

"สงสัยว่าที่เรียนหลักสูตรนี้อยู่ สามารถเวฟเล่มได้รึเปล่า หรือต้องสอบเองคะ"
อันนี้อยู่ที่โรงเรียนนะครับ ในอเมริกา SOA กับ CAS ยังไม่มีการทำแบบนี้ เพราะฉะนั้นในอเมริกา ทุกคนต้องสอบครับ ส่วน CIA (Canada Institute of Actuary) กับ IFA (Institute and Faculty of Actuary of UK) มีการ waive ข้อสอบให้ครับ CIA นี่แน่ใจว่ามี IFA ผมคิดว่ามีแต่ไม่ 100% นะครับ

"อยากถามความคิดเห็นว่าการเรียนสาขานี้ที่ US ส่งผลต่อการหางาน และช่วยด้านการสอบมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นต่างชาติทีสอบผ่านเพียงเล่มหรือสองเล่ม โอกาสการทำงานเหมือนกับคนที่จบจากที่นุ่นแล้วได้เล่มหรือสองเล่มรึเปล่าคะ วงการนี้ ที่ US เปิดกว้างให้คนต่างชาติรึเปล่า"
จากที่ผมเห็นมา อันนี้แล้วแต่บริษัทนะครับ บริษัทไหนในอเมริกาที่ Sponsor แรงงานต่างชาติจะไม่สนว่าคุณเป็นอเมริกันหรือเปล่า ถ้าคุณสามารถสอบได้ แล้วผ่านสัมภาษณ์ ก็มีโอกาศได้งานเท่ากับคนอเมริกันครับ ส่วนบริษัทไหนที่ไม่ Sponsor อยู่แล้ว ยังไงก็ทำอะไรไม่ได้ครับ อย่างหนึ่งที่ผมเห็นว่าคนต่างชาติจะเสียเปรียบคนอเมริกันก็คือการสัมภาษณ์ ที่ผ่านมาผมเห็นว่าคนอเมริกันเวลาสัมภาษณ์จะมีความมั่นใจมากกว่าเด็กต่างชาติ อาจเป็นเพราะภาษา อันนี้ผมพูดตามที่เห็นมานะครับ เพราะผมก็เป็นคนช่วยสัมภาษณ์ให้บริษัทที่ผมทำให้อยู่
อีกอย่าง ถ้าอยากมา US จริงๆ อย่างที่เคยพูดในอีก blog ที่นี่เขาจะไม่ได้ดูข้อสอบอย่างเดียว แต่จะเอาประสบการณ์มาดูด้วย และจากที่เคยได้ยินมา ที่ Canada จะดูข้อสอบมากกว่า แต่ผมคิดว่าคงเป็นเพราะ โรงเรียนที่ Canada จะมีโปรแกรมฝึกงานในหลักสูตรการเรียน เพราะฉะนั้นนักเรียนที่จบจะมีประสบการณ์อยู่แล้ว ไม่เหมือนในอเมริกาที่ไม่มีโปรแกรมแบบนี้ครับ

หวังว่านะจะช่วยตอบคำถามได้บ้างนะครับ ถ้าใครมีอะไรเพิ่มเติมก็ Comment มาได้นะครับ ขอบคุณครับ

Wednesday, July 1, 2015

One Year Of Real Work: ประสบการณ์ทำงานปีแรก

     สวัสดีครับทุกคน ผมไม่ได้โพสอะไรมาสักพักแล้ว ช่วงก่อนหน้านี้มัวแต่ยุ่งอ่านหนังสือสอบ Exam 5 อยู่ครับ แล้วตอนนี้ก็ผ่านเรียบร้อยแล้วนะครับ แล้วอีกอย่างผมก็ทำงานตอนนี้มาได้ 1 ปีเต็มก็อยากจะมาเล่าสู่ประสบการณ์ให้ฟังครับ
     1 ปีที่ผ่านมาผมได้เรียนรู้อะไรมากมาย อาจเป็นเพราะว่าได้อยู่กลุ่มที่อยู่ตอนนี้ด้วย หรือเพราะได้ผู้จัดการคนนี้ด้วย ผมคิดว่าผมโชคดีที่ได้อยู่กลุ่มนี้ เพราะส่วนใหญ่ถ้าทำงานบริษัทใหญ่ๆ จะได้ทำงานแค่บางส่วน ถ้าอยู่ Reserving ก็จะทำแค่ Reserving น้อยนักที่จะได้ทำด้าน Ratemaking หรือด้านอื่นของงานของ Actuary แต่กลุ่มที่ผมอยู่นั้น ผมต้องทำหลายๆอย่าง รวมทั้ง Reserving และ Ratemaking นอกจากนี้ ผมยังได้เรียนรู้ด้าน Business จริงๆนอกเหนืองานของ Actuary ได้ร่วมงานกับส่วนอื่น เช่น Underwriter รวมไปถึงคนระดับ CUO (Chief Underwriting Officer) ได้นั่งประชุมกับระดับผู้จัดการเรื่องการขยาย Business และได้ช่วยออกความคิดเห็นด้านพวกนี้ด้วย
     แม้ว่าผมจะทำงานดีหรือไม่อย่างไร ผมก็มีทำงานพลาดบ้าง โดยเฉพาะตอนเริ่มงานใหม่ๆ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเอามาเป็นบทเรียนให้ตัวผมเองและทุกคนได้

  1. มีอะไรควรถาม: อันนี้ผมเรียนรู้ the hard way ตอนทำงานได้สัก 2-3 เดือนผมได้การ request งานมาจาก underwriter ให้ดึงข้อมูลและทำ analysis บางอย่างให้ โดยการที่ตอนนั้นทุกคนในกลุ่มก็ยุ่งกันอยู่ ผมเลยเกรงใจ ไม่ได้ขอให้ใครเช็คงานให้ก่อนส่ง สรุปมารู้ทีหลังว่างานนั้นกลับกลายเป็นส่งให้ลูกค้า และกลับเป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน กลับทำให้เกือบโดนลูกค้าด่า แล้วต้องกลับมาแก้งานใหญ่ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าถ้าเราไม่แน่ใจอะไร เราก็ควรถาม โดยเฉพาะถ้าเร่าเพิ่งเริ่มงานด้วย
  2. บริหารเวลาให้ดี: หลังจากเริ่มงานแล้ว จากว่าที่เมื่อก่อนเราใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 12-18 ชั่วโมง ถ้ารวมเวลาทำการบ้านด้วย ก็อาจจะ 20-30 ชั่วโมง แต่ตอนนี้ กลับต้องมาทำงานสัปดาห์ละ 35-40 ชั่วโมง บางสัปดาห์ถ้างานยุ่งจริงๆก็อาจจะมากกว่านั้น แล้วทำงานด้านนี้ทุกคนก็รู้ว่าต้องอ่านหนังสือ Actuary Exam อีก เวลาที่เหลือที่จะทำอย่างอื่นก็น้องลงไปอีก เพราะฉะนั้นเราควรจัดเวลาให้ดี
  3. การเรียนรู้มันเร็วกว่าที่เราคิด: อันนี้นอกจากผมจะเจอเองแล้ว คุยกับคนอื่นที่เริ่มงานพร้อมกันแล้ว คนอื่นก็เป็นเหมือนกัน ผมคิดว่าคงเป็นเพราะเราทำงานอยู่ทุกวัน เราเลยไม่ได้รู้ตัวเองว่าเราพัฒนาตัวเองแค่ไหน ในบางครั้งก็รู้สึกท้อเพราะบางทีก็รู้สึกเหมือนว่าเราไม่เรียนรู้อะไรแล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไรทีมเลย แต่พอมาวันหนึ่งคนในทีมอื่นมาขอความช่วยเหลือเรากลับสามารถอธิบายงานได้เลยโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น อีกอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกได้คือตัวเองพัฒนาขึ้นคือเวลาที่เราต้อง Present งาน ตอนเริ่มงานใหม่เวลาอธิบายงานเสร็จ ถ้าคนอื่นมีคำถามอะไร ผมไม่สามารถตอบอะไรได้เลย พูดได้แต่คำว่าไม่รู้ แต่ตอนหลังผมกลับสามารถตอบได้แบบไม่ต้องลังเลเลย เพราะผมได้รู้วิธีการทำงานจริงๆ ได้ พยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่ทำจริง ไม่ใช่แค่ทำตามคำสั้งของผู้จัดการ
  4. รับผิดชอบถ้าทำผิด และไม่เอาเครดิตคนอื่น: ที่ผมเล่าไปก่อนหน้านี้ ที่ผมทำงานผิดพลาด ผมก็ยอมรับตัวเอง แล้วก็ขอโทษคนอื่นที่ทำให้เสียเวลา ทุกคนก็ไม่ว่าอะไรแล้วเราก็จะไว้เป็นบทเรียน แล้วเรื่องไม่เอาเครดิตคนอื่นนี่ไม่ใช่ว่าผมไปทำแบบนั้นนะครับ แต่โดนกระทำ มีอยู่ครั้งหนึ่งมีคนจากกลุ่มอื่มมาของาน เพราะมีคนมาขอเขาอีกคนหนึ่ง แต่พอผมส่งงานไปให้ เขากลับส่งงานนั้นไปให้คนที่ขอมาแล้วทำเหมือนว่าเขาเป็นคนทำเอง (ดูจาก E-Mail chain ที่มาทีหลังนะครับว่าเขาทำงั้น) งานที่เขาส่งไป กลับเป็นว่าคนที่ขอมาต้องการข้อมูลเพิ่ม คนนั้นก็ต้องส่งมาขอความช่วยเหลือกับผมอีก ผมก็ไม่ได้อะไรนักหนาหรอกนะครับ แต่มันแค่รู้สึกแย่ว่าทำไมถึงทำแบบนี้
4 อย่างนี้ผมคิดว่าเป็นอย่างใหญ่ที่ผมคิดได้ตอนนี้ เดี่ยวถ้าผมคิดอะไรได้อีกจะมาเล่าให้ฟังกันนะครับ ตอนนี้นอกจากทำงานได้ 1 ปีแล้ว ผมยังได้รับมอบให้ดูแลเด็กฝึกงานด้วย เป็นครั้งแรกที่ผมได้ Manage คนในที่ทำงาน นอกจากว่าเรายังต้องรับผิดชอบงานของตัวเองแล้ว เราต้องรับผิดชอบงานของเด็กฝึกงานด้วย นี่ก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างจากที่ผมได้เจอมา 1 ปีจริงๆครับ ผมก็เพิ่งมารู้ทีหลังว่าจริงๆแล้ว กว่าจะได้ความรับผิดชอบดูแลเด็กฝึกงาน ส่วนใหญ่เขาจะให้คนที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 2-3 ปีขึ้นไป ตอนแรกก็กดดันเหมือนกันนะครับบอกตรงๆ 555 เพราะเราก็เคยฝึกงานมาก่อน ประสบการณ์อะไรที่ไม่ดี เราก็ไม่อยากให้น้องเขาเจอ อยากให้เขาได้เรียนรู้งานจริงๆ เหมือนที่ผมได้ผ่านมา

Sunday, March 22, 2015

How To Become An Actuary: ต้องทำอย่างไรถึงจะได้เป็น นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

      สวัสดีครับทุกคน วันนี้ผมจะเขียนเรื่องที่ผมคิดว่าทุกคนควรรู้ก่อนที่จะเลือกเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัยนะครับ จริงอยู่ที่ผมอยากจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนที่อยากเรียนด้านนี้ แต่ผมก็ไม่อยากให้คนที่มาเรียนด้านต้องมาเสียเวลา 4 ปีเรียนปริญญาตรีด้านนี้เพียงเพราะว่าเป็นงานที่เงินเดือนสูง
      ก่อนที่ผมจะเลือกเรียนคณิตศาสตร์ประกันภัย ผมได้ใช้เวลาศึกษาและพูดคุยกับ Dr. Ostaszewski ที่ Illinois State University สิ่งที่ผมจำและเป็นสิ่งที่ทำให้ผมเลือกเรียนที่ ISU ก็คือคำพูดของ Dr. Ostaszewski แกเป็นคนที่ฉลาด และอยากทำให้โปรแกรมที่ ISU เป็นโปรแกรมที่ดีที่สุดในโลก แต่แกไม่แคร์เลยว่าใครจะเก่งมาจากไหน สิ่งหนึ่งที่แกพูดตั้งแต่วันแรก ที่จริงก่อนที่ผมจะเลือกเรียนที่ ISU ด้วยซ้ำ คือถ้าคิดจะเรียนด้านนี้ ต้องทิ้งเกือบทุกอย่างเพื่อตั้งใจอ่านหนังสือ จะไม่ได้มีเวลาเที่ยวเล่นกลางคืนเหมือนเพื่อนเขา อาจไม่มีเวลามีแฟนด้วยซ้ำ แก่จะขู่ตลอดว่าเรียนด้านนี้หนักแค่ไหน ผมคิดว่าข้อนี้เป็นข้อสำคัญทีทุกคนควรเข้าใจนะครับ การสอบ Actuary Exam ไม่ใช่ข้อสอบที่ง่าย 1 ช่วงที่เปิดสอบ มีคนสอบเป็นพันพันคนทั่วโลก แต่มีคนผ่านครั้งละไม่เกิน 40% บางครั้งไม่ถึง 30% ด้วยซ้ำ
      ผมคิดว่ามีคน 2 ประเภทที่สามารถสอบ Actuary Exam ผ่าน:

    1. คนที่มีไหวพริบดี/เรียนรู้เร็ว: ผมคิดว่าคนที่เก่งเลขส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนี้อยู่แล้ว ไหวพริบเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการสอบมีเวลาไม่มากนัก ต้องคิดเร็ว ทำเร็ว
    2. คนที่ขยัน: ข้อนี้สำคัญมาก ที่ผมเคยเห็นมา บางคนไม่ได้เก่งเลขหรือไหวพริบดีมากนัก แต่อ่านหนังสือเยอะ ก็สามารถสอบผ่านได้ คนที่ไหวพริบดีจริง พอถึง Upper Level Exams ก็ต้องปรับตัวเองให้ขยันเหมือนกัน ไหวพริบอย่างเดียวช่วยไม่เยอะเลย
      เมื่อก่อน ในอเมริกา การเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่จำเป็นต้องมีปริญญาตรีด้วยซ้ำ ถ้าสามารถผ่านข้อสอบได้ก็เป็นได้ แต่ตอนนี้ทุกคนต้องมีปริญญาตรี แต่ปริญญาโทนั้นไม่สำคัญเท่าไหร่เลย ผมหวังว่าผมจะให้ข้อมูลทุกคนได้ว่าการหางานนั้นเป็นยังไง แต่ตอนนี้ผมยังไม่เคยทำงานด้านนี้ที่เมืองไทย เลยไม่สามารถให้ข้อมูลด้านนี้ได้มากนัก แต่ในอเมริกานั้น การหาการฝึกงาน บริษัทส่วนใหญ่จะดูนักเรียนที่มี 1 ข้อสอบขึ้นไป ถ้าบริษัทใหญ่หน่อยก็ต้องมี 2 ข้อสอบ ส่วนการหางานหลังจบแล้วนั้น ก็ประมาณเดียวกัน 1 ข้อสอบ 2-3 ข้อสอบสำหรับบริษัทใหญ่ แต่สิ่งที่คนนอกอาจจะไม่รู้สำหรับการหางานในอเมริกานั้นก็คือความคิดของคนที่นี่ หลายคนอาจคิดว่าผ่านหลายข้อสอบนั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก แต่ที่จริงแล้วมันคือดาบสองคม ถ้าเราผ่านข้อสอบ Preliminary ทั้งหมด 5 ตัว แต่ไม่เคยมีประสบการณ์การฝึกงานเลย เราอาจจะตกอยู่ในกลุ่มที่บริษัทยกว่าอันตรายเกินไป เพราะเขาจะถือว่าเขาต้องจ่ายค่าตัวเราแพง แต่ว่าไม่มีประสบการณ์ที่จะมาช่วยบริษัทเขาได้เลย เขาก็อาจจะเลือกคนที่ผ่านข้อสอบน้อยกว่า แต่มีประสบการณ์เพราะค่าตัวนั้นจะถูกกว่า ที่อเมริกานี้เขาถึงแนะนำการผ่าน 2-3 ข้อสอบถ้าไม่มีประสบการณ์ แต่ถ้ามีแล้วก็เยียบคันเร่งเต็มที่เลยครับ แต่ไม่ควรสอบ Upper Level Exam ก่อนทำงาน Full time นะครับ ไม่ใช่แค่ฝึกงานครับ เพราะข้อสอบพวกนี้ต้องสอบพร้อบประสบการณ์การทำงานจริงๆ

Friday, February 20, 2015

Exam Tips

Actuary Exams ถือว่าเป็นข้อสอบที่ยากที่สุดอันดับหนึ่ง วิธีการอ่านหนังสือของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่มันก็มี basic การอ่านอยู่บ้างที่จะช่วยให้อ่านข้อสอบนี้ได้

  • เวลาที่สมควรทุ่มเทในการอ่านหนังสือควรอ่าน 100 ชั่วโมงต่อการสอบ 1 ชั่วโมง
    • ถ้าข้อสอบ 3.5 ชั่วโมง ก็ควรใช้เวลาอ่านทั้งหมด 350 ชั่วโมง
    • นี่คือหลักที่ผมเคยได้ยินมาตอนที่เรียนอยู่ แต่สำหรับเด็กไทยที่ถ้าภาษาไม่ดีมาก ก็แนะนำว่าให้อ่านมากกว่านี้ เพราะผมมีเพื่อนคนจีนหลายคนที่บอกว่าทำข้อสอบไม่ได้เพราะไม่เข้าใจคำถาม
  • "Been There, Done That" Rule
    • เวลาสอบมีจำกัด สำหรับข้อสอบแรกๆเราได้ 3 ชม. สำหรับ 30ข้อ => 6 นาทีต่อข้อ การใช้เวลาในการคิดจะทำให้เสียเวลา เราต้องทำ practice ให้ได้มากที่สุด เห็นคำถามแล้วสามารถที่จะทำได้เลยโดยไม่คิดมากมาย
  • อย่าคิดว่ามันไม่ออก!
  • พยายามทำความเข้าใจ
    • เวลาอ่านหนังสือ เราจะทำได้ดีที่สุดถ้าเราเข้าใจ แบบ Exam FM มี Formula ให้จำเยอะมากมาย แต่ถ้าเราเข้าใจมัน เราก็จะไม่ต้องจะ และสามารถ derive ได้เองถ้านึกไม่ออกตอนสอบ 
  • ข้ามข้อที่ยากก่อน
    • อันนี้ผมคิดว่าคงเป็น basic strategy ที่ทุกคนเคยได้ยิน ข้ามข้อที่ยาก อย่าเสียเวลากับมัน เพราะมันอาจจะทำให้เราเสียคะแนนของข้อง่า่ยๆที่เราไปไม่ถึงก็ได้
  • พยายามหาหลายวิธีในการหาคำตอบ
    • ผมคิดว่าแต่ละคนมีความสามารถต่างกัน วิธีการหาคำตอบส่วนใหญ่จะมีหลายวิธี ถ้าเรารู้หลายวิธี เราก็สามารถมีทางเลือกหลายทาง และจะใช้เวลาน้อยในการหาคำตอบ อาจารย์ที่สอน FM ผม จะใช้เวลา 0.5-1 ชม ในการทำคำถามข้อนึง เพราะแกจะโชว์การทำประมาณ 3-4 วิธี
    • For example: การหา 5 years term increasing annuity เราจะใช้ formula ก็ได้ถ้าเราจำได้ หรือถ้าขี้เกียจจำก็วาด timeline แล้ว discount payout เอา หรือมีอีก 2 วิธีที่ผมยังนึกได้ ;)
  • พยายามหาเคล็ดลับของตัวเอง
    • ผมจะเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือด้วยตัวเอง แล้วก็เป็นคนขี้เกียจจึงพยายามหาทางลัด เช่นการหา Present Value ของ Bond มีหลาย formula ถ้าจำไม่ผิด อาจารย์ผมให้มาประมาณ 3-4 formula อันที่มี C หรือ g ใน formula แต่ผมเลือกที่จะจำแค่อันเดียวคือ Frank formula(P = Fr * an + K) แล้วก็ทำบ่อยจนไม่ต้องหาวิธีอื่นเลย
  • อย่าท้อถ้าทำ practice ได้คะแนนน้อย
    • บอกตามตรง ตอนทำ Practice Exam ผมได้คะแนนน้อยมาก ทำบ่อยยังไงก็น้อย ก็ไม่เข้าใจ 555 แต่ก็ทำไปเรื่อยๆ ตอนสอบก็มั่นใจเอง 
Good Luck Everyone!
มีคำถามอะไรก็ถามมาทาง Comment ได้นะครับ :)

Saturday, January 10, 2015

First Fail ... Actually Let's Make It Two: บทเรียนที่หนักที่สุด

   1/10/2015
      ประสบการณ์การสอบของแต่ละคนนั้นคงต่างกัน ผมมีเพื่อนหลายคนที่ไม่ได้สอบผ่านโดยการสอบครั้งแรก หรือตกมาแล้วหลายครั้ง ส่วนผมนั้นผ่าน Preliminary Exams มาได้โดยไม่ได้ตกเลย หลังจาก Prelim ก็ต้องเริ่มสอบ Upper Level Exams ซึ่งผมเริ่มต้นที่ Exam 5: Basic Techniques for Ratemaking and Estimating Claim Liabilities และหลังจากสอบเสร็จก็เริ่มอ่าน CAS Online Course 1: Risk Management and Insurance Operations
     ผมสอบ Exam 5 ตอนเดือนตุลาคม 2014 แต่เนื่องจากว่าเป็นข้อสอบแบบเขียน คือต้องเขียนอธิบายทุกอย่าง ผลสอบจึงต้องรออีก 8 สัปดาห์ ส่วน Course 1 นั้นผมได้สอบตอนเดือนธันวาคม 2014 เป็นข้อสอบ Computer-Based Testing เหมือน Prelim จึงรู้ผลสอบตอนสอบเสร็จเลย
     ผมสอบตก Course 1 โดยคะแนน 60-69% ซึ่งคะแนนผ่านก็คือ 70% หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ผลสอบ Exam 5 ก็ออก และผมตกด้วยคะแนน 5 (คะแนน 6 คือผ่านเหมือน Prelim) สำหรับ Exam 5 นั้น บอกตามตรงว่าหลังสอบเสร็จผมคิดไว้แล้วว่าถ้าไม่ผ่านก็น่าจะได้ 5 และก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ส่วน Course 1 นั้นบอกได้เลยว่าผิดคาดและผิดหวังจริงๆ

สิ่งที่ทำพลาด:

  1. Exam 5: 1 อย่างที่อยู่ใน Syllabus (Asset Share Pricing) นั้นได้โดนประกาศว่าจะอยู่ใน Syllabus เป็นครั้งสุดท้าย ผมเลยทะนงตัว เลยเลือกที่จะไม่อ่านบทนั้น เพราะคิดว่าไหนๆมันก็จะไม่มีอีกแล้ว เค้าคงไม่ถามในข้อสอบหรอก ซึ่งกลายเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะข้อที่คะแนนมากเกือบที่สุดกลายเป็นคำถามของบทนี้
  2. Exam 5: อีกอย่างหนึ่งใน Syllabus ผมก็คิดอีกว่าถ้าออก ก็คงไม่ใช่คำถามที่คะแนนเยอะ (Estimating ULAE) เพราะเป็นส่วนเล็กของหนังสือ ผมเลยทิ้งบทนี้แล้วไปใช้เวลากับบทอื่น แต่กลับเป็นคำถามคะแนนเยอะอันดับสองของทั้งข้อสอบ 
  3. Course 1: ผมอยากบอกว่าผมประมาทจริงๆ ผมใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ ในการอ่านหนังสือสำหรับสอบตัวนี้ แต่ผมไม่ได้ serious มาก เพราะคิดว่ามันคงง่าย ตอนสอบก็ไม่ได้คิดว่ายาก แต่มันเป็นคำถามชนิดว่าคำตอบข้อไหน ถูกที่สุด ซึ่งผมไม่ชอบคำถามพวกนี้มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว

บทเรียน

  1. อย่าประมาท ผมเป็นคนเข้าใจวิชาเลขง่ายมาโดยตลอด และเป็นคนที่เวลาเรียนจะตั้งใจเรียน แต่ไม่ตั้งใจอ่านหนังสือสอบ แต่ก็สอบได้ A มาโดยตลอด ก็เลยทะนงตัวเอง ไม่เตรียมพร้อมให้ดีสำหรับการสอบ Course 1 
  2. อย่าคิดว่ามันจะไม่ออก ผมเคยทำแบบที่ผมทำกับ Exam 5 มาแล้วตอนสอบ MLC เพราะข้อมูลมันเยอะ เลยเลือกบางบทที่คิดว่าไม่ออกทิ้งไป ตอนนั้นบทที่ทิ้งไปมันไม่ออกจริงๆ ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้ามีเวลาก็ไม่ควรทำ อย่างน้อยก็ควรทำความเข้าใจให้พอไปได้ ไม่ใช่ทิ้งไปเลย 
ข้อสองที่ว่าอย่าคิดว่ามันไม่ออก ผมก็เคยได้ยิน Dr. Krzysztof Ostaszewski พูดมาตั้งแต่ผมเรียนปีแรกแล้วว่าแกเคยโดน ทิ้งไปบทเดียว ก็พลาดไปคะแนนเดียวที่อยู่ระหว่างผ่านกับตก แต่ก็คิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นกับเราหรอก เพราะฉะนั้น คนอื่นก็อย่าทำผิดแบบผมนะครับ

Update 7/1/2015 ตอนนี้ผมสอบ Exam 5 เป็นครั้งที่ 2 ผ่านแล้วนะครับ :) แล้วก็สอบ Course 1 ผ่านตอนเดือนมกราคมแล้วด้วยครับ